top of page
Top Visa Page
อเมริกาขึ้นชื่อว่าดินแดนแห่งความหวังและเสรีภาพ
ไม่ว่าคุณจะฝันว่ามาเที่ยว เรียน ทำงาน หรือพักอาศัยอยู่ที่นี่
ชุมชน usvisa4thai ยินดีชวนคุณร่วมเดินทางไปกับเรา

การเดินทางไปประเทศสหรัฐอเมริกา คนไทยจะต้องขอวีซ่าก่อนการออกเดินทาง

ส่วนจะเลือกขอวีซ่าประเภทใดนั้น ขื้นอยู่กับจุดมุ่งหมายของการเดินทางนั้น ๆ

วีซ่าเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ

Open Suitcase

วีซ่าชั่วคราว

Temporary or

Non-Immigration Visa

A woman standing at a souvenir store

วีซ่าถาวร

Immigration Visa

(leads to Green Card)

***หมายเหตุคำศัพท์ เพื่อความง่ายและสั้น ต่อไปนี้เราจะเรียกกรีนการ์ด (Green Card) เป็นใบเขียว ชาวสหรัฐฯ (U.S. Citizen) เป็นชาวอเมริกัน และผู้มีถิ่นที่อยู่ถาวรอย่างถูกต้องตามกฏหมาย (LPR) ว่าผู้ถือใบเขียว

Temporary Visa
วีซ่าชั่วคราว​ (Temporary Visa) เป็นวีซ่าที่อนุญาติให้ชาวต่างชาติเดินทางมาท่องเที่ยว เยี่ยมเยียน ทำธุระ เรียนหนังสือ หรือทำงานเป็นระยะเวลาสั้น ๆ ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากวีซ่าประเภทนี้ไม่ใช่สำหรับการโยกย้ายถิ่นฐาน (Non-Immigration) ทำให้ผู้ถือวีซ่าจะไม่สามารถเปลี่ยนสถานะเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรอย่างถูกต้องตามกฏหมาย (Legal Permanent Resident) หรือผู้มีใบเขียว (Green Card)ได้

วีซ่าชั่วคราว แบ่งออกเป็น 6 กลุ่มย่อย โดยในแต่ละกลุ่มย่อยก็จะแบ่งเป็นอีกหลายประเภท ตามจุดประสงค์ของการเดินทาง ดังนี้

    

     1. ธุรกิจ (B-1) เพื่อทำธุรกิจ ประชุม สัมมนา แข่งขันกีฬาและวิชาชีพ แบบมีเงินรางวัล รวมทั้งผู้ติดตามนายจ้าง    

           

     2. ท่องเที่ยวและเยียมเยียน (B-2) สำหรับผู้ที่ใช้วีซ่าท่องเที่ยว คนที่มาเข้าเรียนในหลักสูตรระยะสั้น แค่ไม่กี่วันหรือไม่กี่อาทิตย์ รวมทั้งคนที่จะเดินทางเพื่อรับการรักษาสุขภาพก็ต้องใช้วีซ่าประเภทนี้

       

     3. แต่งงาน แบ่งเป็นหลายประเภท ดังนี้

         - K-1(Fiancé(e) to marry U.S. Citizen & live in U.S.) สำหรับคู่หมั้นของชาวอเมริกันที่จะเดินทางมาแต่งงานและปรับสถานะขอใบเขียวเพื่ออยู่อาศัยในสหรัฐฯ อย่างถาวร ถ้ามีลูกอายุไม่เกิน 21 ปีติดมาด้วย ตัวเด็กก็จะได้วีซ่าพ่วงมากับคู่หมั้นและถือวีซ่า K-2 และมาปรับสถานะฯ เพื่อขอใบเขียวพร้อม ๆ กับพ่อหรือแม่

         - K-3 (Spouse of a U.S. Citizen awaiting approval of an I-130 immigrant petition) สำหรับคู่สมรสของชาวอเมริกันที่กำลังรอเรื่องขอย้ายถิ่นฐานผ่านการยื่นฟอร์ม I-130 ถ้ามีลูกติดอายุไม่เกิน 21 ปีมาด้วย ตัวเด็กก็จะได้วีซ่าพ่วงมากับคู่สมรสและถือวีซ่า K-4 ผู้ขอวีซ่าประเภทนี้จะต้องมาดำเนินเรื่องขอใบเขียวอีกที เมื่อมาถึงอเมริกา

       

     4. ทำงาน แบ่งเป็นหลายประเภท ดังนี้

           - A (Diplomat or foreign government official) นักการฑูตหรือข้าราชการของต่างประเทศ

           - D (Crewmember) สำหรับคนที่ทำงานสายการบินหรือบริษัทเรือสำราญหรือเรือขนส่งต่าง ๆ

           - E สำหรับนักการค้า นักลงทุน และพนักงานขั่วคราวภายใต้สนธิสัญญาต่าง ๆ ทางการค้าและการเดินเรือ

               *E-1 (Treaty Trader) สำหรับนักการค้าที่จะต้องมีความร่วมมือทางการค้าที่สำคัญกับทางสหรัฐฯ

               *E-2 (Treaty Investor) สำหรับนักลงทุนจากประเทศที่มีสนธิสัญญาทางการค้าและการเดินเรือกับสหรัฐฯ

               *E-3 Temporary Workers) สำหรับชาวออสเตรเลียที่เป็นพนักงานให้กับบริษัทภายใต้สนธิสัญญาต่าง ๆ

           - G1-G5, NATO ลูกจ้างขององค์กรระดับนานาชาติและของนาโต้

           - H สำหรับผู้ประกอบอาชีพอื่น ๆ ดังนี้

               *H-1B (Specialty occupation with highly specialized knowledge) วิชาชีพเฉพาะทาง เช่น แพทย์

               *H-2A (Temporary agricultural worker) คนที่ทำงานชั่วคราวทางการเกษตรตามฤดูกาล

               *H-2B (Temporary or seasonal worker) คนที่ทำงานชั่วคราวหรือทำเป็นฤดูกาลในอาชีพอื่น ๆ ที่ไม่ใช่การเกษตร

               *H-3 (In a training program not primarily for employment) คนที่ต้องไปฝึกงานในโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่การฝึกงานเพื่อเป็นการเข้าทำงาน (ในอเมริกาในอนาคต)

               *H-4 (Spouse and unmarried children under 21 years old of H3 Visa Holder ) สำหรับผู้ติดตามซึ่งเป็นคู่สมรสหรือบุตรอายุไม่เกิน 21 ปีที่ยังไม่ได้แต่งงานของคนขอวีซ่า H-3

          - I (Media, journalist) สื่อมวลชนและนักข่าว

          - J (Physician, professor, scholar, teacher, au pair--exchange visitor) การแลกเปลี่ยนบุคลากรในการทำงาน เช่น แพทย์ ศาสตราจารย์ นักวิชาการ และครู รวมทั้งผู้ติดตาม (J-1) คนที่มาเลี้ยงเด็กหรือออแพร์จัดอยู่ในประเภทวีซ่านี้ (J-2)

          - L (Intra-company transferee) คนที่ย้ายงานภายในบริษัทของตัวเองมายังสาขาอื่นในอเมริกา (L-1) รวมทั้งผู้ติดตามที่เป็นคู่สมรสและบุตรอายุไม่เกิน 18 ปีที่ยังไม่ได้แต่งงาน (L-2)

          - O (Foreign national with extraordinary ability in Sciences, Arts, Education, Business or Athletics) คนที่มีความเชี่ยวชาญอย่างสูงไม่ว่าจะเป็นด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปะ การศึกษา ธุรกิจ หรือการกีฬา

          - P (Performing athlete, artist, entertainer) นักกีฬา ศิลปิน และนักสร้างความบันเทิงที่ต้องการมาแสดงในอเมริกา

          - Q (International cultural exchange visitor) ผู้ที่มาแลกเปลี่ยนทางวัฒนธรรมนานาชาติ

          - R (Religious worker) คนทำงานด้านเผยแพร่ศาสนา

     

     5. ศึกษาเล่าเรียน

           - F (Student: academic) สำหรับนักเรียนที่เรียนในโรงเรียนประถมและมัธยมต้นเอกชน มัธยมปลาย นักศึกษาระดับวิทยาลัยหรือมหาวิทยาลัย รวมทั้งผู้ที่มาเรียนภาษา (F-1) และผู้ติดตาม (F-2)

           - M (Vocational or non-academic institution) สำหรับผู้มาศึกษาด้านวิชาชีพต่าง ๆ 

     6. คู่สมรสและบุตรอายุไม่เกิน 21 ปีของผู้ถือใบเขียว (V - Visa for spouse and children of of a lawful permanent resident) สำหรับกรณีที่ยื่นแบบฟอร์ม I-130 ก่อนวันที่ 21 ธันวาคม ค.ศ. 2000 และยังไม่ได้ผ่านขั้นตอนการสัมภาษณ์วีซ่าหรือได้รับวันนัดสัมภาษณ์ หรือเรื่องวีซ่าถาวรไม่ได้อยู่ระหว่างดำเนินการที่สถานฑูตหรือสถานกงสุลแล้วเท่านั้น

Immigrant Visa
วีซ่าถาวร​ (Immigration Visa) เป็นวีซ่าที่อนุญาติให้ชาวต่างชาติเดินทางมาตั้งถิ่นฐานในสหรัฐอเมริกา ผู้ถือวีซ่าประเภทนี้จะสามารถเปลี่ยนสถานะเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรอย่างถูกต้องตามกฏหมาย (Legal Permanent Resident) หรือเป็นผู้มีใบเขียว
(Green Card)ได้

วีซ่าถาวร แบ่งออกเป็น 5 กลุ่มย่อย โดยแต่ละกลุ่มก็แบ่งย่อยออกเป็นอีกหลายประเภท ดังนี้

 

     1. ครอบครัว (Family Based) แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

         - CR1 (Conditional Residency 1: Spouses of U.S. Citizens) วีซ่าสำหรับคู่สมรสของชาวอเมริกันที่จะได้รับใบเขียวแบบมีเงื่อนไขซึ่งจะมีอายุ 2 ปี เนื่องจากยังแต่งงานกันไม่ถึง 2 ปี 

         - CR2 (Conditional Residency 2: Unmarried Children under 21 yrs. old of U.S. Citizens) วีซ่าสำหรับบุตรอายุต่ำกว่า 21 ปีของชาวอเมริกันที่จะได้รับแบบมีเงื่อนไขซึ่งจะมีอายุ 2 ปี ไม่ว่าจะเป็นลูกสายในสายเลือด (biological children) ลูกติดอายุต่ำกว่า 18 ปีของคู่สมรส (step-children) หรือลูกบุญธรรม (adopted children) ที่ได้รับเป็นลูกบุญธรรมก่อนอายุครบ 16 ปี ของชาวอเมริกันก็จะเข้าข่ายวีซ่านี้ทั้งหมด

         - IR1 (Immediate Relative 1: Spouses of U.S. Citizens) สำหรับคู่สมรสชาวอเมริกัน

         - IR2 (Immediate Relative 2: Unmarried Children under 21 yrs. old of U.S. Citizens) สำหรับบุตรอายุต่ำกว่า 21 ปีของชาวอเมริกัน ลูกติดอายุต่ำกว่า 18 ปีของคู่สมรสของชาวอเมริกันก็อยู่ในประเภทวีซ่านี้

         - IR5 (Immediate Relative 5: Parents of U.S. Citizens who are at least 21 yrs. old) สำหรับพ่อแม่ของชาวอเมริกันซึ่งมีอายุอย่างน้อย 21 ปี 

         - F1 (Family First Preference : Unmarried adult children of U.S. citizens, and their minor children, if any) วีซ่าครอบครัวกลุ่มที่ 1 สำหรับบุตรอายุมากกว่า 21 ปีที่ยังไม่ได้แต่งงานของชาวอเมริกันและบุตรที่อายุไม่เกิน 18 ปีของพวกเขา (ถ้ามี) 

         - F2 (Family Second Preference : [F2A] Spouses, minor children , and [F2B] unmarried children age 21 and over of LPRs - Legal Permanent Residents) วีซ่าครอบครัวกลุ่มที่ 2 สำหรับคู่สมรส บุตรที่อายุไม่เกิน 18 ปี (F2A) และบุตรอายุมากกว่า 21 ปีที่ยังเป็นโสด (F2B) ของผู้ถือใบเขียว  

         - F3 (Family Third Preference : Married adult children of U.S. citizens, and their spouses and minor children) สำหรับบุตรที่แต่งงานแล้วของชาวอเมริกัน รวมทั้งคู่สมรสและบุตรอายุไม่เกิน 18 ปีของพวกเขา

         - F4 (Family Fourth Preference : Siblings of U.S. citizens who are at least 21 yrs. old, and their spouses and minor children) สำหรับพี่น้องของชาวอเมริกัน ซึ่งมีอายุอย่างน้อย 21 ปี วีซ่านี้รวมไปถึงคู่สมรสและบุตรอายุไม่เกิน 18 ปีของพวกเขาด้วย

 

     2. ทำงาน (Employment) ซึ่งบางครั้งจะรู้จักในนามวีซ่า EB แบ่งเป็นประเภทต่าง ๆ ดังนี้

         - E1 (Employment First Preference: Priority Workers and Persons of Extraordinary Ability) สำหรับคนงานที่ใด้รับความสำคัญเป็นลำดับแรก และบุคคลที่มีความสามารถพิเศษสุด ๆ เช่น นักวิทยาศาสตร์ ศิลปิน ศาสตราจารย์ นักธุรกิจ นักกีฬา เป็นต้น

         - E2 (Employment Second Preference: Professionals Holding Advanced Degrees and Persons of Exceptional Ability) สำหรับผู้ชำนาญการที่มีระดับการศึกษาสูงกว่าระดับปริญญาตรี และบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษ ด้านวิทยาศาสตร์ ศิลปะ หรือธุรกิจ ซึ่งทำงานด้านที่ตนเองถนัดและมีความก้าวหน้ามาตลอดเวลานานกว่า 5 ปี

         - E3 (Employment Third Preference: Skilled Workers, Professionals, and Unskilled Workers or Other Workers) สำหรับคนงานที่มีทักษะ มืออาชีพ และคนงานที่ไม่มีทักษะหรือคนงานประเภทอื่น ๆ

         - E4 (Employment Fourth Preference: Certain Special Immigrants) สำหรับลูกจ้างหรือลูกจ้างเดิมของหน่วยงานเฉพาะทางต่าง ๆ เช่น หน่วยงานเผยแพร่ข่าวสาร องค์กรศาสนา ล่ามทหาร เป็นต้น วีซ่ากลุ่มนี้แบ่งย่อยออกเป็น SD และ SR (คนงานองค์กรศาสนา), SI (ล่ามและนักแปลชาวอิรักและอัฟกานิสถาน), SQ (คนอิรัก), และ SQ (คนอัฟกานิสถาน) 

         - E5 (Employment Fifth Preference: Immigrant Investors) สำหรับนักลงทุนที่นำเงินเข้ามาทำธุรกิจและก่อให้เกิดการสร้างงานในอเมริกา

     3. บุตรบุญธรรม (Adoption) ซึ่งต้องได้รับเป็นบุตรบุญธรรมก่อนที่พวกเขาจะมีอายุครบ 16 ปี

         - IR2 (Immediate Relative 2 : Unmarried adopted children under 21 yrs. old of U.S. citizens) สำหรับบุตรบุญธรรมที่ยังไม่แต่งงานและอายุต่ำกว่า 21 ปีของชาวอเมริกัน

         - IR3 (Immediate Relative 3 : Children adopted abroad by a U.S. Citizen) สำหรับเด็ก ๆ ที่ถูกรับเป็นบุตรบุญธรรมในต่างประเทศโดยชาวอเมริกัน

         - IR4 (Immediate Relative 4 : Children traveling to the U.S. to be adopted by U.S. citizens) สำหรับเด็ก ๆ ที่เดินทางมาอเมริกาเพื่อรับเป็นบุตรบุญธรรมโดยชาวอเมริกัน

         - IH3 (Immediate relative from Hague Convention countries: Children adopted from Hague Convention countries) สำหรับเด็ก ๆ จาก 12 ประเทศในสนธิสัญญากรุงเฮกที่ได้รับเป็นบุตรบุญธรรมโดยชาวอเมริกัน

         - IH4 (Immediate relative from Hague Convention countries: Children from Hague Convention countries traveling to the U.S. to be adopted by U.S. citizens) สำหรับเด็ก ๆ จาก 12 ประเทศในสนธิสัญญากรุงเฮกที่เดินทางมาอเมริกาเพื่อรับเป็นบุตรบุญธรรมโดยชาวอเมริกัน   

 

     4. วีซ่าล็อตโต้ (DV: Diversity Visa) เป็นวีซ่าเพื่อความหลากหลาย หรือที่รู้จักกันดีคือ หวยวีซ่า 

     5. วีซ่าเดินทางกลับอีกครั้งของผู้มีเคยมีถิ่นพำนักในสหรัฐฯ (SB: Returning Resident) สำหรับกรณีที่เคยได้ใบเขียว หรือกรีนการ์ด (Green card) แล้วเดินทางออกนอกประเทศสหรัฐอเมริกาและมีเหตุให้ใบเขียวหมดอายุ แต่ต้องการเดินทางกลับเข้าประเทศอีกครั้ง 

หมายเหตุ วีซ่าบางประเภทจะเข้าไปอยู่ในวีซ่ากลุ่มอื่นด้วย คือ

     - วีซ่าแลกเปลี่ยน (J) ซึ่งถ้าเป็นวีซ่าแลกเปลี่ยนทางการศึกษาก็จะถือว่าอยู่ในกลุ่มวีซ่าการศึกษาและแลกเปลี่ยน แต่ถ้าเป็นแลกเปลี่ยนบุคลากรในการทำงานก็จะถือว่าอยู่ในกลุ่มวีซ่าการทำงาน

     - วีซ่าท่องเที่ยวหรือเยี่ยมเยียน (B-2) ยังจัดได้ว่าเป็นวีซ่าเพื่อการศึกษา หากผู้ขอวีซ่ามีความประสงค์ที่จะลงเรียนคอร์สสั้น ๆ เช่น คอร์สทำอาหาร คอร์สตีกอล์ฟ ระหว่างที่ได้เดินทางมาท่องเที่ยวพักผ่อนหรือเยี่ยมเยียน

     - วีซ่าทำงาน มีทั้งแบบชั่วคราวและแบบถาวร ถึงจะไปทำงานเหมือนกัน แต่ระยะเวลาในการพำนักในประเทศสหรัฐอเมริกาก็จะแตกต่างกัน 

*แหล่งข้อมูล www.travel.state.gov, www.th.usembassy.gov, www.uscis.gov, www.ustraveldocs.com

***We ARE NOT lawyers or attorneys. We DO NOT provide any legal consultations. We ONLY offer a space for Thais to share their visa and immigration experience. All information is a combination of direct experience and online research.

เราไม่ใช่นักกฏหมายหรือทนายความ และเราไม่ให้คำปรึกษาด้านกฏหมายใด ๆ  เราแค่เสนอพื้นที่ออนไลน์สำหรับคนไทยด้วยกันเข้ามาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ด้านการขอวีซ่า การโยกย้ายถิ่นฐาน และการใช้ชีวิตในอเมริกาเท่านั้น  ข้อมูลต่าง ๆ ที่นำมาเผยแพร่ มาจากทั้งประสบการณ์ตรงและการค้นหาข้อมูลทางออนไลน์***

bottom of page